10 เทรนด์ น้ำปลาร้า รุ่นไหนดี กด!! อัพเดทล่าสุดปี 2567

เมื่อคุณค้นหาสิ่งของบางอย่างที่ร้านค้าออนไลน์ คุณจะพบว่าคุณจะได้เจอสินค้าที่คุณมองหาอย่างง่ายดาย สัมผัสประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์ที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และไว้ใจได้ ผ่านโมบาย แอปพลิเคชั่น ดีๆที่เราแนะนำ
วันนี้ถ้าหากท่านสนใจ ราคาถูกมาก เราแนะนำเลยเจ้านี้ น้ำปลาร้า  สินค้าออนไลน์  ราคาถูกที่สุดเท่าที่เคยได้ยินมา สั่ง น้ำปลาร้า  ไป ราคาถูกกว่าซื้อห้าง สินค้าใส่ซองกันกระแทกมาตอนจัดส่งให้ด้วย ส่งเร็วทันใจ คุณภาพเยี่ยมพอดีเห็น ลดราคาลงมาอีก เลยจัดไป ได้รับสินค้าเรียบร้อย จัดส่งรวดเร็ว คุณภาพเยี่ยม ได้รับสินค้าแล้วดีใจมาก ตรงตามต้องการในรุป ไม่พบปัยหาเลยกับทางร้านค้า

     
คุณรู้หรือไม่ ? นอกจากน้ำปลาร้า มีเรื่องที่ต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้ออีกมากมายไม่ว่าจะเป็นดีไซน์ สี ขนาด ราคา วัสดุที่ใช้และน้ำหนักซึ่งปั จจัยเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความชอบและลักษณะ ซึ่งมีทั้ง น้ำปลาร้า และการใช้ของแต่ละบุคคล ดังนั้นหากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมองหา น้ำปลาร้า วันนี้ทางเราได้จัด แนะนำ น้ำปลาร้ายี่ห้อดีต่อใจมาให้คุณแล้ว!

"ส้มตำ" เป็นอาหารประจำถิ่นของภาคอีสาน ที่ไม่ว่าคนภาคไหน ๆ ก็ติดอกติดใจนิยมรับประทานกัน ทั้งยังเป็นเมนูที่โด่งดังไปไกลยังต่างประเทศ และแน่นอนว่าเมื่อรู้จักส้มตำแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้และเป็นของคู่กันที่ต้องมีเลยคือ "น้ำปลาร้า" ซึ่งช่วยเสริมรสชาติอาหารให้มีความเข้มข้น อร่อยกลมกล่อมยิ่งขึ้น พร้อมมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ในแบบฉบับ "ต้นตำรับส้มตำ" ที่หลายคนติดใจ นอกจากจะนำน้ำปลาร้ามาปรุงรสส้มตำแล้ว ยังสามารถนำมาประกอบอาหารชนิดอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น ต้ม แกง หรือยำ ก็เพิ่มความฟินจนต้องแย่งกันซดน้ำเลยทีเดียวค่ะ


ในอดีต การทำปลาร้านั้นจะเป็นการหมักเพื่อใช้ทานกันภายในครัวเรือน แต่ปัจจุบัน เนื่องจากความต้องการการบริโภคที่สูงขึ้น จึงมีการผลิตเพื่อการค้าจากสารพัดยี่ห้อและมีสูตรต่าง ๆ มากมาย แต่สำหรับคนที่ไม่เคยทานปลาร้ามาก่อนนั้น อาจจะเลือกไม่ถูกว่าควรซื้อแบบไหน เหมาะสมกับการประกอบอาหารประเภทใดบ้าง ดังนั้น ทีมงานมายเบสท์จึงไม่พลาดที่จะนำสาระน่ารู้เและวิธีเลือกน้ำปลาร้าที่ดีมาฝากทุกคนกันค่ะ นอกจากนี้ เรายังได้รวบรวม 10 อันดับ น้ำปลาร้าขายดียี่ห้อต่าง ๆ เพื่อให้คุณใช้ประกอบการตัดสินใจ ก่อนเลือกซื้อไปลิ้มลองกันอีกด้วย ตามมาดูกันเลยค่ะ

"ปลาร้า" คือ วิธีการถนอมอาหารที่มีมาแต่สมัยโบราณ โดยการนำปลามาขอดเกล็ดควักไส้ล้างทำความสะอาดอย่างดี แล้วนำมาหมักกับเกลือและข้าวคั่วหรือรำข้าว ก่อนนำไปเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดสนิท เพื่อรอกระบวนการหมักต่อไป ซึ่งในกระบวนการหมักนั้น แบคทีเรียที่มีอยู่ในปลาจะย่อยสลายแป้งในข้าวคั่ว (รำข้าว) เป็นอาหารจนเกิดกรดแล็กติก ส่งผลให้สภาวะกรด-ด่างภายในไหหมักลดลง จากนั้นย่อยสลายโปรตีนในเนื้อปลาให้กลายเป็นกรดอะมิโน เนื้อปลาที่แข็งจึงมีความอ่อนนุ่มลง อีกทั้งความเค็มของเกลือยังทำให้แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเน่าเสียตายไป จึงสามารถเก็บไว้ได้นานและรับประทานได้อย่างปลอดภัยค่ะ


สำหรับปลาที่นิยมนำมาทำเป็นปลาร้าส่วนใหญ่ จะเป็นปลาน้ำจืดหาง่าย เช่น ปลากระดี่, ปลาซิว, ปลาช่อน, ปลานิล เป็นต้น ยิ่งปลามีขนาดใหญ่ก็จะใช้ระยะเวลาในการหมักนานขึ้น สีและกลิ่นที่ได้ก็จะมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ ในน้ำปลาร้าที่หมักได้ที่แล้ว ยังมีวิตามิน, โปรตีน, แคลเซียมและฟอสฟอรัสในปริมาณสูง ถือเป็นแหล่งสารอาหารสำคัญชั้นดีได้เลยค่ะ และด้วยรสชาติกลมกล่อม พร้อมกลิ่นหอมเฉพาะอันเป็นเอกลักษณ์ จึงมีการนำปลาร้ามาประกอบอาหารมากมาย ไม่ว่าจะนำมาใส่แกงอ่อมแบบชาวอีสาน หรือทำส้มตำปลาร้ารสเด็ด ก็ทำให้อาหารอร่อยไม่เหมือนใครค่ะ

หลังจากที่เราได้ทราบกันแล้วว่าปลาร้านั้นทำมาจากวัตถุดิบอะไรบ้าง ต่อไปมาดูกันค่ะว่า วิธีการเลือกปลาร้าให้เหมาะสมกับการประกอบอาหารแต่ละชนิดนั้น ควรพิจารณาอย่างไร

อันดับแรก ควรเลือกจากประเภทของปลาร้าก่อนเลยค่ะ ซึ่งโดยปกติแล้วสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ ปลาร้าหอม ปลาร้านัว และปลาร้าโหน่ง โดยแต่ละประเภทก็มีสีและกลิ่นแตกต่างกัน คุณจึงควรเลือกให้เหมาะสมกับอาหารที่ปรุง หรือแบบที่ชื่นชอบมากที่สุดค่ะ

"ปลาร้าหอม" เป็นปลาร้าที่ทำมาจากปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลาช่อน ปลาดุก หรือปลานิล โดยนำมาหมักกับเกลือในปริมาณเข้มข้น คือ อัตราปลา 4 ส่วน ต่อเกลือ 2 ส่วน จากนั้นเติมข้าวคั่ว (รำข้าว) เพื่อใช้เป็นอาหารของจุลินทรีย์ลงไปเล็กน้อย แล้วจึงหมักทิ้งไว้นาน 6 - 10 เดือนขึ้นไป ปลาร้าที่ได้จะมีสีน้ำตาลแดง พร้อมกลิ่นหอมอ่อน ๆ ไม่รุนแรงเหมือนชนิดอื่น อีกทั้งมีส่วนเนื้อมาก จึงนิยมนำมาประกอบอาหารประเภท ปลาร้าทอด ปลาร้าสับ หรือหลนปลาร้า ให้รสอร่อยทานง่าย เหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบกลิ่นแบบรุนแรง หรือนักชิมมือใหม่อยากจะลองหัดทานดูบ้างแล้วล่ะก็ ขอแนะนำว่าให้เริ่มจากปลาร้าชนิดนี้เลยค่ะ

ต่อมาเป็นสูตรที่นิยมกันอีกชนิดหนึ่ง คือ "ปลาร้านัว" หรืออีกชื่อเรียกว่า "ปลาร้าต่วง" จะใช้ปลาขนาดเล็กถึงปานกลาง ตัวไม่ใหญ่มาก เช่น ปลาหมอ ปลาสลิด หรือปลากระดี่ มาหมักกับเกลือและข้าวคั่วหรือรำ อัตราส่วน 4:1:1 ซึ่งสูตรนี้จะใช้เกลือน้อยกว่าแบบปลาร้าหอม และมีเวลาในการหมักสั้นลง คือ ประมาณ 4 - 6 เดือน ก็สามารถนำออกมารับประทานได้แล้วค่ะ โดยปลาร้าที่ได้จะมีสีน้ำตาลเข้ม กลิ่นแรง เนื้อรสกลมกล่อม มักนำมาปรุงอาหารจำพวกแกงอ่อมแบบอีสาน หรือตำน้ำพริกแจ่ว ช่วยเสริมรสและกลิ่นของอาหารให้น่าทานยิ่งขึ้นค่ะ

อีกหนึ่งประเภทที่เพียงแค่ชื่อเรียกก็ได้กลิ่นโชยมาเลยก็คือ "ปลาร้าโหน่ง" ซึ่งมักจะนำปลาขนาดเล็กมาทำ เช่น ปลาซิว ปลาสร้อย หรือปลาขาวนา เป็นต้น โดยใช้ปลา 4 ส่วน ต่อเกลือ 1 ส่วน ผสมรำข้าวอีก 1 ส่วน หมักไว้นาน 1 ปีขึ้นไป ปลาร้าที่ได้จะมีสีน้ำตาลคล้ำ กลิ่นโหน่งรุนแรงติดจมูก เนื้อปลามีความอ่อนนิ่มและได้น้ำปลาร้ามาก นิยมนำมาปรุงส้มตำหรืออาหารรสจัด และทำน้ำจิ้มกินกับผลไม้รสเปรี้ยวอย่าง มะม่วง มะยม ช่วยลดกลิ่นโหน่งเพิ่มความกลมกล่อม หรือ "ความนัว" ให้แซ่บซี๊ด อร่อยถูกใจคนชอบปลาร้าอย่างมากค่ะ

น้ำปลาร้าที่วางจำหน่ายอยู่ทั่วไป ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าแบบปรุงรส มีส่วนผสมหลัก ๆ คือ น้ำปลาร้า, เกลือ, น้ำตาล เป็นต้น โดยสูตรที่เป็นที่ยอมรับว่าอร่อยกำลังดี คือ มีอัตราส่วนน้ำปลาร้า 80 - 90% เหมาะสำหรับใช้ปรุงอาหารที่ต้องการน้ำขลุกขลิกออกมาด้วย เช่น การทำยำหรือส้มตำ แต่หากต้องการนำไปใส่ต้มหรือแกงที่เน้นการชูรสชาติ ควรเลือกแบบสูตรเข้มข้นมากกว่า 90% ขึ้นไป จะคุ้มค่ากว่าค่ะ เพราะแค่เหยาะลงไปน้อย ๆ ก็ได้รสแล้ว แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคนร่วมด้วย เพราะระดับกลิ่นและรสของปลาร้านั้น ถือเป็นความชอบเฉพาะบุคคลค่ะ


นอกจากนี้ ปลาร้าที่ดีไม่ควรมีกลิ่นเหม็นเน่าหรือกลิ่นคาวปลารุนแรง จนกลบกลิ่นหอมธรรมชาติของปลาร้าที่ควรจะมีจนหมด อีกทั้งสีที่ได้ไม่ควรจะดำคล้ำจนเกินไป เพราะหากมีสีคล้ำและกลิ่นเหม็นมาก สันนิษฐานได้ว่ากระบวนการผลิตอาจไม่ถูกสุขอนามัยได้ ดังนั้น ก่อนนำไปปรุงอาหารทุกครั้ง ควรสังเกตสีและกลิ่นด้วยอยู่เสมอนะคะ

นอกจากพิจารณาส่วนผสมหลักแล้ว ควรตรวจสอบดูส่วนผสมพิเศษเพิ่มเติมด้วยเช่นกันค่ะ เพราะบางยี่ห้อก็มีการใส่ส่วนผสมอื่น ๆ เช่น สับปะรดหรือน้ำกระเทียมดอง เพื่อรสชาติที่ดีหรือบางยี่ห้อใส่กะปิลงไปด้วย ทำให้มีสีและกลิ่นเข้มข้นขึ้น ซึ่งส่วนผสมพิเศษเหล่านี้จะช่วยเสริมให้น้ำปลาร้าแต่ละยี่ห้อมีความอร่อยเด่นไม่เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้ ก่อนซื้อควรพิจารณาดูว่ามีส่วนผสมเหล่านี้หรือไม่ เพื่อให้ได้ปลาร้าที่อร่อยถูกใจคุณที่สุดค่ะ

การพาสเจอร์ไรซ์ (Pasteurization) คือการฆ่าเชื้อถนอมอาหาร โดยใช้ความร้อนต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส ภายในระยะเวลาที่กำหนด ก่อนลดอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็วและนำไปบรรจุในภาชนะปลอดเชื้อทันที แม้ปลาร้าที่ผ่านกระบวนการหมักแล้ว จะทำให้แบคทีเรียที่เป็นพิษและพยาธิต่าง ๆ ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ แต่หากในกระบวนการผลิต หรือการบรรจุภาชนะมีความสะอาดไม่เพียงพอ ก็อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคหรือแบคทีเรียอีกครั้งได้เช่นกัน ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย คุณควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแบบพาสเจอร์ไรซ์จะมั่นใจได้มากกว่าค่ะ อีกทั้งปลาร้าที่ผ่านการต้มสุกจะมีกลิ่นอ่อนลง จึงสามารถรับประทานได้ง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มหัดรับประทานปลาร้าอีกด้วยค่ะ !

สินค้าที่นำมาวางจำหน่ายนั้น เพื่อไม่ให้เกิดการเน่าเสียหรือมีรสชาติผิดเพี้ยนไป ผู้ประกอบการจึงมักใช้สารปรุงแต่งอาหาร เช่น วัตถุกันเสีย การเจือสี หรือใส่สารเพิ่มความหนืดบางประเภทลงไป เพื่อให้สามารถยืดระยะเวลาการเก็บรักษาและเพิ่มสีสันของอาหารให้ดูน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม หากเราได้รับสารจำพวกนี้มากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ ดังนั้น ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช้ส่วนผสมเหล่านี้ให้น้อยที่สุด เพื่อช่วยลดปัญหาสุขภาพที่อาจตามมาได้ในอนาคตค่ะ

จบไปแล้วนะคะ กับสาระน่ารู้และวิธีการเลือกน้ำปลาร้าที่เรานำเสนอไป จากนี้ก็ถึงเวลามาตามหาน้ำปลาร้าอร่อย ๆ ไปปรุงอาหารมื้อพิเศษของคุณกันแล้วค่ะ มาดูกันว่ามียี่ห้อไหนน่าสนใจบ้าง !

น้ำปลาร้าพาสเจอร์ไรซ์รูปแบบใหม่ มาในสูตรที่เหมาะสำหรับผู้ที่รับประทานอาหารในแนว Ketogenic Diet คือ ลดส่วนผสมที่เป็นแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตลง พร้อมทั้งใช้เกลือหิมาลายันปรุงแต่งรสชาติ น้ำปลาร้ามีกลิ่นหอม รับประทานง่าย นอกจากนี้ การออกแบบแพ็กเกจจิ้งแบบฝากด ใช้งานสะดวก ไม่เลอะมือ ที่สำคัญคือ ไม่มีส่วนผสมของผงชูรส และใช้สารให้ความหวาน Eritrital แทนน้ำตาล จึงเหมาะสำหรับคนที่ต้องการรักษาสุขภาพและลดน้ำหนักอีกด้วยค่ะ

น้ำปลาร้าขวดนี้เป็นสูตรที่หมักจากปลากระดี่และปลาสร้อย ผสมกับสูตรข้าวคั่ว ทำให้ได้น้ำปลาร้าสีสวย กลิ่นไม่แรง ใช้วิธีการต้มกรองเอาแต่น้ำ ก่อนนำไปปรุงรสให้อร่อยยิ่งขึ้น และฆ่าเชื้อแบบพาสเจอร์ไรซ์ ซึ่งมีน้ำปลาร้าแท้เข้มข้นถึง 95% ไม่ใส่ผงชูรสและวัตถุกันเสีย ช่วยลดปัญหาสุขภาพด้วยค่ะ นอกจากนี้ ยังมาในขวดแบบบีบชนิดหนาสามชั้น ป้องกันอากาศผ่านและทนแสงได้เหมือนขวดแก้ว ทำให้เก็บรักษาได้นาน ทั้งยังมีการผลิตที่ได้มาตรฐานทั้ง อย. และ HACCP สะอาดปลอดภัยแน่นอนค่ะ

ขอแนะนำผลิตภัณฑ์จากดาราตลกชื่อดัง "คุณตุ๊กกี้ ชิงร้อยฯ" กันบ้างนะคะ น้ำปลาร้าสูตรนี้มีการปรุงรสพิเศษที่ใช้ปลาร้าหมักเพียง 40% น้ำกระเทียมดอง 30% กะปิ 10 % น้ำตาลปี๊บ 20% น้ำปลาร้าไม่เหนียวหนืด ปรุงรสง่าย รสชาติไม่เค็มมาก เพราะได้ความหวานของน้ำตาลปี๊บผสมความหอมของน้ำกระเทียมดอง กลมกล่อมทานง่าย กลิ่นไม่ฉุน เหมาะสำหรับคนที่ชอบปรุงอาหารให้มีน้ำชุ่มฉ่ำ หรือแม้แต่นำไปทำส้มตำก็อร่อยจนต้องซดน้ำเลยล่ะค่ะ

อีกหนึ่งยี่ห้อที่มาพร้อมสินค้าคุณภาพ ใช้น้ำปลาร้าที่ผ่านกระบวนการหมักในโอ่งมังกรเผาแบบโบราณนาน 12 เดือน ก่อนนำมาต้มปรุงรส โดยมีน้ำปลาร้ารวม 90% น้ำตาล 5% กะปิ 2% แล้วเคี่ยวจนเป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้ได้น้ำปลาร้าสีน้ำตาลอ่อน กลิ่นหอมน่ารับประทาน มีรสชาตินัวกลมกล่อมและไม่ตกตะกอน เหมาะสำหรับทำเมนูส้มตำ, ต้ม, ยำ, แกง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในไม่กี่ยี่ห้อน้ำปลาร้าที่สินค้ามีฉลากโภชนาการกำกับ คุณจึงมั่นใจได้ว่าสินค้าดีไม่มีสารอันตรายเจือปนอย่างแน่นอนค่ะ

สูตรน้ำปลาร้าจากปลาทะเล โดยใช้น้ำปลาร้าที่หมักมาจากปลากระตัก 83% ปรุงรสเพิ่มเติมด้วยเกลือ น้ำตาล และกะปิ น้ำปลาร้าไม่เหนียวและมีรสชาติเข้มข้น พร้อมกลิ่นแรงที่เข้ากันระหว่างปลาร้าและกะปิ แนะนำว่าเหมาะสำหรับใส่เมนูยำ, ส้มตำ, ซุปหน่อไม้ หรือแกงเปรอะ ซึ่งจะช่วยให้อาหารมีรสชาติแซ่บนัวมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังผลิตเป็นแบบพาสเจอร์ไรซ์ รับรองมาตรฐาน GMP และ HACCP รับรองว่าสะอาดถูกหลักอนามัย มั่นใจในความปลอดภัยได้เลยค่ะ

อีกสูตรของน้ำปลาร้าปรุงรสที่เน้นรสกลมกล่อม มาพร้อมกับสโลแกน "รสชาตินัวไม่กลัวใคร" โดยใช้น้ำปลาร้าหมักถึง 90% ผสมน้ำตาล 5% น้ำกระเทียมดอง 3% และกะปิ  2% เคี่ยวจนมีความเหนียวหนืดเข้มข้น มีสีน้ำตาลเข้ม ไม่แยกชั้น รสชาติแซ่บนัวแบบจัดเต็มสมสโลแกน แนะนำว่าเหมาะสำหรับใส่ตำถั่ว, ตำแตง, ส้มตำ เหยาะใส่นิด ๆ ก็เพียงพอแล้ว นอกจากนี้ ดีไซน์ขวดแบบทรงเว้า ทำให้จับถือง่ายกระชับมือ และยังไม่ไหลย้อนหกรดมืออีกด้วย ใช้งานสะดวกมาก ๆ ค่ะ

น้ำปลาร้าสำหรับเมนูส้มตำ ตราแม่บุญล้ำเจ้าเก่าขวดนี้ ใช้น้ำปลาร้าที่ผลิตจากปลาคุณภาพ 92% น้ำตาลทราย 4% ผงชูรส 3% และน้ำกระเทียมดอง 1% น้ำปลาร้ามีความเข้มข้นสูง ใช้เพียงเล็กน้อยก็สามารถชูรสอาหารได้เต็มที่ สามารถนำไปใช้ปรุงรสได้ทั้งอาหารเหนือหรืออีสาน เช่น ซุป, อ่อม, แกงเห็ด, ป่น, ลาบ ก็หอมอร่อยเข้ากัน ทั้งยังไม่ใส่วัตถุกันเสีย เรียกได้ว่า ทั้งอร่อยและช่วยลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพได้อีกทางหนึ่งด้วยค่ะ

น้ำปลาร้ารสนี้ติดอันดับครองใจใครหลาย ๆ คน โดยเฉพาะคนที่ชื่นชอบปลาร้ากลิ่นแรงแบบชาวอีสาน ต้องไม่ควรพลาดสูตรนี้เลยค่ะ ! เพราะใช้ส่วนผสมเป็นน้ำปลาร้าโหน่ง 80% รสชาติเข้มข้นกลิ่นหอมโดดเด่น ไม่เจือสีสังเคราะห์หรือแต่งกลิ่นพิเศษ สามารถใช้ปรุงรสอาหาร เช่น น้ำยาปลา, แกงอ่อม, แกงเลียง, ต้มยำต่าง ๆ ให้ความเค็มแทนน้ำปลาได้ เพิ่มความอร่อยแซ่บถูกใจยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการฆ่าเชื้อแบบพาสเจอร์ไรซ์ ซึ่งช่วยป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรคต่าง ๆ ด้วยค่ะ

อีกหนึ่งความอร่อยจากแบรนด์ที่คนไทยคุ้นเคย เหมาะสำหรับคนที่ชอบทานน้ำปลาร้าแบบแท้ ๆ ไม่มีการปรุงแต่งรสชาติ เพราะใช้วัตถุดิบที่เป็นน้ำปลาร้ารวม 80% และน้ำเปล่า 18% จึงได้น้ำปลาร้าต้มสุกแบบไม่มีการเติมน้ำตาลหรือเกลือ รีวิวจากหลายคนบอกว่า น้ำปลาร้ามีกลิ่นหอมและรสชาติอร่อยกลมกล่อมมาก เนื้อสัมผัสไม่หนืดจนเกินไป และยังมาพร้อมแพ็กเกจจิ้งที่ปิดสนิท สะอาดปลอดภัย สามารถนำไปปรุงปลาร้าหลน, ข้าวผัดน้ำปลาร้า, ส้มตำ, แกงอ่อม ช่วยเพิ่มรสชาติอาหารได้หลากหลายยิ่งขึ้นค่ะ

ถือว่าเป็นน้ำปลาร้าที่ได้รับการยอมรับในเรื่องของรสชาติ ขวดนี้เป็นสูตรน้ำปลาร้า 92% ซึ่งจุดเด่นจะอยู่ที่ความอร่อยกลมกล่อม ไม่เค็มโดดจนเกินไป หอมกลิ่นปลาร้าแท้ ๆ จากการหมัก นอกจากนี้ ยังไม่มีการเเต่งกลิ่นและใส่สีสังเคราะห์ น้ำปลาร้าไม่เหนียวหนืดและกลิ่นไม่รุนแรง แม้จะเป็นสูตรส้มตำ แต่ก็สามารถใช้ปรุงอาหารได้อีกหลายเมนูเช่นกัน จึงเป็นที่ติดอกติดใจหลายคนอย่างมาก จนหนึ่งใน Reviewer บอกว่า "อร่อยจนแทบพลิกแผ่นดินหา" เลยล่ะค่ะ

หลังจากที่เราได้ทราบทั้งข้อดี - ข้อเสียต่าง ๆ ของน้ำปลาร้ากันไปแล้ว ถึงเวลาที่ต้องไปจัดมาสักขวดแล้วล่ะค่ะ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปลาร้าที่ผ่านกระบวนการหมักจนได้ที่แล้วนั้น จะมีทั้งความอร่อยและเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี แต่ด้วยกระบวนการหมักที่ใช้เกลือและการปรุงรสแบบเข้มข้น ทำให้มีความเค็มและปริมาณโซเดียมสูง จึงไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป เพราะอาจมีผลต่อสุขภาพได้


ในการเลือกสินค้า นอกจากเรื่องของรส กลิ่นและสีที่ถูกใจแล้ว ก็อย่าลืมคำนึงถึงความปลอดภัยด้วยนะคะ เช่น การเลือกสินค้าที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ หรือตรวจดูว่าใส่วัตถุกันเสียด้วยหรือไม่ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของโรคภัยที่มาพร้อมกับการรับประทานอาหารได้อีกทางหนึ่งค่ะ